วันพฤหัสบดี

มัลติมีเดียมีอิทธิพลต่อเราอย่างไร

1. การสื่อสารและโทรคมนาคมของมนุษย์มีพัฒนาการที่ต่อเนื่องมายาวนาน โดยมีกระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น อินเตอร์เน็ต จนกระทั่งในโลกปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมอย่างแพร่หลาย2. เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมส่งผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม3. ปัญหาที่เกิดจากเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ปัญหาการพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ปัญหาพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น4. สังคมไทยควรมีการปรับตัวให้รับกับการเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม การพัฒนาสายวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับตัวเมื่อเข้าสู่ตลาดแข่งขันเสรีทางธุรกิจโทรคมนาคม รวมไปถึงการป้องกันและเยียวยาปัญหาจริยธรรม และปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศตอนที่ 10.1 แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม1. การสื่อสารของมนุษยชาติมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอันอาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติทางด้านการสื่อสารเกิดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ ครั้งที่ 1 เมื่อมนุษย์เริ่มมีภาษาพูดและมีวัฒนธรรมโดยการเล่าสืบต่อกันมา ครั้งที่ 2 เมื่อมนุษย์มีภาษาเขียนและถ่ายทอดวัฒนธรรมโดยการเขียน ครั้งที่ 3 เมื่อมีเทคโนโลยีทางการพิมพ์เกิดขึ้นทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ออกไปสู่มวลชนได้เป็นจำนวนมาก และครั้งที่4 คือในยุคปัจจุบันที่มีการเกิดขึ้นของระบบอิเล็กทรอนิกส์ดิจิตัล2. การเกิดขึ้นของกระแสโลกาภิวัตน์ได้สร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใดๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคมในการจัดทำระบบสารสนเทศไว้ใช้งาน3. เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีภูมิหลังที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อประโยชน์ทางด้านการทหารและความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถถูกทำลายลงได้ เพราะไม่มีคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเครื่องใดเป็นศูนย์กลางนั่นเอง ต่อมาเมื่อสิ้นสุดยุคสงครามเย็น อินเตอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาปรับเปลี่ยนมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น4. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในทิศทางที่ทำให้เกิดเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่แพร่กระจาย มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานง่ายและสะดวก เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารด้วยระบบไร้สายและพกพาได้ อีกทั้งมีราคาที่ลดลงถึงระดับซึ่งคนส่วนใหญ่หาซื้อใช้ได้โดยไม่เป็นภาระมากเกินควร สภาพการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความนิยมใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างกว้างขวางกิจกรรม 10.1.1 จงอธิบายการปฏิวัติทางด้านการสื่อสารของมนุษย์ มาพอสังเขป* ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษยชาติมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอันอาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติทางด้านการสื่อสารเกิดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ ครั้งที่ 1 เมื่อมนุษย์เริ่มมีภาษาพูดและมีวัฒนธรรมโดยการเล่าสืบต่อกันมา ครั้งที่ 2 เมื่อมนุษย์มีภาษาเขียนและถ่ายทอดวัฒนธรรมโดยการเขียน ครั้งที่ 3 เมื่อมีเทคโนโลยีทางการพิมพ์เกิดขึ้นทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ออกไปสู่มวลชนได้เป็นจำนวนมาก และครั้งที่ 4 คือในยุคปัจจุบันที่มีการเกิดขึ้นของระบบอิเล็กทรอนิกส์ติจิตัลกิจกรรม 10.1.2 โลกาภิวัตน์ในความหมายของซูซาน สเตรนก์ (Susan Strange) เป็นอย่างไร* ซูซาน สเตรนก์ให้คำอธิบายไว้ว่า โลกาภิวัตน์หมายถึง1. การมีสินค้าในตลาดโลก ซึ่งร่วมกันผลิตโดยบุคคลจากหลายประเทศ2. การเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการผลิตและการค้าสินค้าและบริการในระดับข้ามชาติในอัตราที่ขยายตัวกว่าเดิมมาก เพราะมีหลายชาติเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเป็นผลให้เกิดทั้งกำไรและขาดทุนในวงเงินที่สูงมาก3. การปรับเปลี่ยนความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ รสนิยมให้เข้ามาเป็นแบบเดียวกันในระดับโลกกิจกรรม 10.1.3 จงอธิบายรูปแบบการบริการของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาพอสังเขป* เครือข่ายอินเตอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการต่างๆ เหล่านี้1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail)2. USENET เป็นวิธีการแพร่ข่าวสารไปทั่วทั้งเครือข่ายอีกวิธีหนึ่ง3. FILE TRANSFER ผู้ใช้สามารถโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้4. TELNET เป็นการต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกล5. HYTELNET มาจากคำว่า HYPER TELNET แต่พัฒนาให้ใช้ง่ายขึ้นและมีความสะดวกสบายขึ้น และใช้งานง่ายโดยเลื่อนลูกศรไปยังตำแหน่งเมนูที่ต้องการ6. GOPHER เป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับใช้เปิดค้นหาข้อมูลและเข้าใช้บริการด้วยระบบเมนูที่มีให้เลือกค้นไปทีละหัวข้อ ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ในห้องสมุด คอยจัดทำบัตรรายการ ช่วยให้ผู้ใช้หาหนังสือที่ต้องการได้เร็วขึ้น7. WORLD WIDE WEB หรือ WWW เป็นการให้บริการข่าวสารข้อมูลแนวใหม่ในระบบอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากใช้งานง่าย คอยบริการข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้ได้รวมบริการข้อมูลลักษณะอื่นไว้ในตัวอีก เช่น การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล เป็นต้นกิจกรรม 10.1.4 ในปัจจุบันนอกจากเราจะติดต่อสื่อสารด้วยเสียงพูดผ่านโทรศัพท์แล้ว ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยวิธีใดบ้าง* การติดต่าสื่อสารระหว่างคนในชุมชนแต่เดิมทำได้ด้วยเสียงพูดผ่านเครื่องโทรศัพท์ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในวันนี้ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้หลายวิธี เช่น การสื่อสารด้วยเสียงพูดผ่านอินเตอร์เน็ต การสื่อสารด้วยข้อความสั้น (Short Message System : SMS) การสื่อสารด้วยอีเมล์ การสื่อสารด้วยข้อความแบบโต้ตอบ (Instant messange) เป็นต้นตอนที่ 10.2 ผลกระทบของเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมต่อสังคมไทย1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสาร" เข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมายกิจกรรม 10.2.1 จงอธิบายผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อระบบการเมือง* สำหรับผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อระบบการเมืองที่เห็นได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งคือ เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น โทรทัศน์และเทปวีดิทัศน์มีส่วนยับยั้งอำนาจของผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการไว้ได้ ในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องยากมากที่กลุ่มทหารไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในโลกก็ตามที่จะทำการปฏิวัติ ในยุทคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วทุกมุมโลกในเวลาอันรวดเร็ว ในยุคก่อนการปฏิวัติในประเทศใดก็เป็นเรื่องส่วนตัวของประเทศนั้น แต่ในยุคปัจจุบันมีระบบการสื่อสารเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน การปฏิวัติในประเทศหนึ่งอาจส่งผลต่อการถูกต่อต้านจากประเทศอื่นด้วย ในปัจจุบันและอนาคตจะมีผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการน้อยลง รวมทั้งพวกเขาจะไม่สามารถควบคุมการไหลของข่าวสารได้อีกต่อไป ระบบเทคโนโลยีการสื่อสารแบบกระจายอำนาจ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสารและอินเตอร์เน็ตนั้น จะทำให้ปัจเจกชนมีอำนาจมากขึ้น และทำให้พวกเขาสามารถที่จะติดตามเรื่องราวของรัฐบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่รัฐบาลจะติดตามเรื่องราวชองประชาชนเสียอีกกิจกรรม 10.2.2 จงอธิบายผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อเศรษฐกิจ* สำหรับผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อระบบเศรษฐกิจที่ชัดเจนคือ การหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่" (modern capitalism) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติ (Multi-National Corperations: MNCs) เข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทย ส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลของทุน และข้อมูลข่าวสารเข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย สื่ออินเตอร์เน็ตก็จะแทรกซึมเข้าสู่ทุกตำบลทุกท้องถิ่น เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลเสียด้วยหากมีการใช้การพาณิชย์ที่ผิดกฎหมายและศิลธรรมกิจกรรม 10.2.3 จงอธิบายผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม* การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่ายขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้าน" และ "วัฒนธรรม" ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม (conflict of culture) อันเนื่องมาจากการสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมชนหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัย จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติ ค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ตอนที่ 10.3 ปัญหาที่เกิดจากเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมต่อสังคมไทย1. จากการจัดอันดับความสามารถของประเทศในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประจำปี ค.ศ.2002 ของสหภาพโทรคมนาคม พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 68 จาก 178 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในระดับกลาง หากเปรียบเทียบเฉพาะในภูมิภาคอาเชียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน2. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์3. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์4. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้5. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว6. ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้บุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมจำแนกเป็นหัวข้อหลักๆ ได้ 3 ข้อคือ ความก้าวหน้าในสายอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และระบบผลตอบแทนกิจกรรม 10.3.1 ดัชนีชี้วัดการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ (Digital Access Index : DAI) คืออะไร และเมื่อวัดด้วยดัชนีนี้สถานะของประเทศไทยเป็นอย่างไร* DAI เป็นดัชนีที่ใช้วัดความสามารถในการเข้าถึงสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้โดยการประเมินปัจจัยพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อความสามารถของประเทศในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ความสามารถที่จะซื้อได้ (Affordability) ความรู้ (Knowledge) คุณภาพ (Quality) และการใช้งาน (Usage) โดยมีตัวชี้วัด 8 ตัว เป็นองค์ประกอบในการคำนวณค่าดัชนี ผลที่ได้ทำให้สามารถจำแนกประเทศออกเป็น 4 กลุ่มตามความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ประเทศที่มีการเข้าถึงระดับสูง ระดับค่อนข้างสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 68 จากทั้งหมด 178 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับกลาง หากเปรียบเทียบเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน** ตัวอย่างรูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีดังนี้1. ดาต้าดิดดลิง (data diddling) เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนหรือระหว่างบันทึกข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์2. ม้าโทรจัน (Trojan horse) เป็นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมอื่น เมื่อถึงเวลาโปรแกรมดังกล่าวจะปรากฎตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีการนี้มักใช้ในการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์เพื่อการทำลายข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์3. ซาลามีเทคนิค (salami technique) เป็นวิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่สาม หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงินที่สามารถจ่ายได้ และนำเศษทศนิยมหรือเศษที่ปัดทิ้งมาใส่ในบัญชีของตนเองหรือของผู้อื่น นอกจากนี้วิธีการดังกล่างยังอาจใช้กับระบบตรวจนับสิ่งของในคลังสินค้าด้วย4. ซูเปอร์แซปปิง (superzapping) เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ประเภทหนึ่งที่ใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นเครื่องมือของระบบ (system tool) ในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีฉุกเฉิน เสมือนกุญแจผี ที่นำมาใช้เมือกุญแจดอกอื่นหายหรือมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ประเภทนี้มีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี5. แทรปดอร์ (trap door) เป็นการเขียนโปรแกรมด้วยการเลียนแบบหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทราบรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้อื่น6. ลอจิกบอมบ์ (logic bomb) เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งโดยกำหนดเงื่อนไขไว้โปรแกรมดังกล่าวเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะหรือสภาพการณ์ตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของระบบบัญชีและระบบเงินเดือน และทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขได้7. ดาตาลีกเกจ (data leakage) เป็นการทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไปโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม8. ไวร์แทปปิง (wire tapping) เป็นการลักลอบดังฟังสัญญาณสื่อสารโดยเจตนา9. ซิมูเลชันแอนด์โมเดลลิง (simulation and modeling) ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการวางแผน ควบคุม และติดตามการประกอบอาชญากรรม ในขณะเดียวกันอาชญากรอาจใช้กระบวนการดังกล่าวเพื่อสร้างแบบจำลองในการวางแผนเพื่อประกอบอาชญากรรมก็ได้กิจกรรม 10.3.2 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากอาชญากรรมแบบดั้งเดิมในด้านใดบ้าง* อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากอาชญากรรมแบบดั้งเดิม ในด้านสภาพความเป็นทรัพย์ ด้านเขตอำนาจการดำเนินการตามกฎหมาย และด้านกลุ่มผู้กระทำความผิดกิจกรรม 10.3.3 จงยกตัวอย่างการพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรมที่อาจพบได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต* การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฎหมายและศิลธรรม เช่น การทำธุรกิจแบบเอารัดเอาเปรียบ ธุรกิจบริการเรื่องทางเพศ ธุรกิจจัดจำหน่ายผลิภัณฑ์ลามกทางเพศ ธุรกิจการพนันบนอินเตอร์เน็ต การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้นกิจกรรม 10.3.4 สิทธิข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร* รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 34 ได้บัญญัติไว้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลไว้อย่างชัดเจน ดังนี้"สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน"กิจกรรม 10.3.5 ผลกระทบที่เกิดจากการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชนอย่างกว้างๆ มีอะไรบ้าง* ผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสมอย่างเกมออนไลน์นั้น สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ 3 ประเด็น ได้แก่ ผลจากเกมที่มีเนื้อหาที่รุนแรง ผลจากการใช้เวลาว่างอย่างไม่เหมาะสม และผลจากการเสียค่าใช้จ่ายในการเล่นเกมกิจกรรม 10.3.6 ปัญหาทางด้านบุคคลากรสายวิชาชีพสารสนเทศ อาจจำแนกประเด็นหลักๆ ได้อย่างไรบ้าง* ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้บุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมจำแนกเป็นหัวข้อหลักๆ ได้ 3 ข้อคือ ความก้าวหน้าในสายอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และระบบผลตอบแทนตอนที่ 10.4 แนวทางการปรับตัวของสังคมไทยในสังคมดิจิตัล1. การที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ประเทศระดับแนวหน้าได้นั้น ภาครัฐจะต้องผลักดันและเร่งดำเนินการในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมให้เทียบเคียงและล้ำหน้าประเทศอื่นในแถบภูมิภาคเดียวกัน การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ การลงทุนของประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงดิจิตัลภาคประชาชน การสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และการพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง2. การจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในปัจจุบัน มีอุปสรรคสำคัญที่กำลังเผชิญอยู่คือ ความสามารถในการผลิตคุณภาพของระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ สถาบันและหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรมีข้อจำกัด ระบบการตรจคนเข้าเมืองมีข้อจำกัดที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการนำเข้าบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงและสาขาพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่จากต่างประเทศ จำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดียจำกัด3. รัฐควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการโทรคมนาคมพี้นฐานโดยทั่วถึง เนื่องจากหากประชาชนสามารถได้รับบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ก็จะสามารถลดช่องว่างทางเทคโนโลยีของประชาชนได้4. ปัญหาจริยธรรมและปัญหาสังคมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมเสมอ ในการป้องกันและเยียวยาแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการทั้งในระดับมหาภาคคือระดับประเทศ และระดับจุลภาคคือระดับองค์การและปัจเจกบุคคลกิจกรรม 10.4.1 การที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ประเทศระดับแนวหน้าได้นั้นจะมีแนวทางอย่างไร* ภาครัฐจะต้องผลักดันและเร่งดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้1. การพัฒนาเทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมให้เทียบเคียงและล้ำหน้าประเทศอื่นในแถบภูมิภาคเดียวกัน2. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ3. การลงทุนของประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ4. การสร้างโอกาสในการเข้าถึงดิจิตัลภาคประชาชน5. การสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย6. การพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกิจกรรม 10.4.2 อุปสรรคสำคัญที่กำลังเผชิญอยู่ในการจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไร* การจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในปัจจุบัน มีอุปสรรคสำคัญที่กำลังเผชิญอยู่ ดังนี้1. ความสามารถในการผลิตคุณภาพของระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ2. สถาบันและหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรมีข้อจำกัด3. ระบบการตรวจคนเข้าเมืองมีข้อจำกัดที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการนำเข้าบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงและสาขาพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่จากต่างประเทศ4. จำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดียมีจำกัด แม้ว่าบุคลากรของไทยนับว่ามีความสามารถในเชิงความคิดสร้างสรรค์และเป็นที่ยอมรับในระหว่างประเทศกิจกรรม 10.4.3 ประเทศไทยควรมีแนวทางในการปรับตัวเมื่อเข้าสู่ตลาดแข่งขันเสรีทางธุรกิจโทรคมนาคมอย่างไร* รัฐควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง (Universal Service Obligation-USO) ดังนั้น การประสานงานกับรัฐบาลในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากหากประชาชนสามารถได้รับบริการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน หมายถึงรัฐสามารถลดช่องว่างทางเทคโนโลยีของประชาชนได้ เมื่อรัฐและผู้กำกับดูแลสามารถส่งเสริมภาคธุรกิจโทรคมนาคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประเทศไทยจะหันจากการฝังตัวอยุ่กับกิจการโทรคมนาคมอย่างเดียวมาสู่ภาคธุรกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเต็มรูปแบบเมื่อใดที่รัฐมีความเพียบพร้อมและสร้างภาคธุรกิจนี้ให้มีการแข่งขันเสรี เมื่อนั้นกลุ่มผู้ลงทุนจะเข้ามายังประโยชน์ให้ภาคเอกชนและผู้บริโภคและท้ายที่สุดให้ประโยชน์โดยรวมกับรัฐบาลเองกิจกรรม 10.4.4 การป้องกันและเยียวยาปัญหาจริยธรรมและปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีแนวทางอย่างไร* การป้องกันและเยียวยาปัญหาจริยธรรมและปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีแนวทางทั้งในระดับมหาภาค คือ มาตรการระดับประเทศ และจุลภาคคือ มาตรการระดับองค์การและระดับปัจเจกบุคคล กล่าวคือ1. มาตรการระดับประเทศ- มาตรการด้านความมั่นคง- มาตรการด้านทรัพย์สินทางปัญญา- มาตรการด้านความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล2. มาตรการระดับองค์การ- การกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ชัดเจน- การส่งเสริมจริยธรรม3. มาตรการระดับปัจเจกบุคคล- แนวทางในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม- การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล – การกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์โดยผู้ใช้ – การเข้ารหัสลับข้อมูล

My resume

ชื่อ : อิศราวดี

นามสกุล : กองสมร

ชื่อเล่น : มุก

เพศ : หญิง

เกิดวันที่ : 25 พฤษภาคม 2533

การศึกษา : ปริญญาตรี ปี 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

e-mail : mook_siam@hotmail.com